พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

พระยามนตรีสุริยวงศ์[1] มีนามเดิมว่า ชุ่ม บุนนาค สกุลบุนนาค ชั้นที่สาม เป็นบุตรคนที่ 9 ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ และเป็นน้องชายแท้ๆ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เป็นราชทูตไปยังราชสำนักอังกฤษเพื่อถวายพระราชสาส์นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแก่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2400 และในการเดินทางครั้งนี้ หม่อมราโชทัยล่ามของคณะทูตได้ประพันธ์ "นิราศลอนดอน" ขึ้นด้วยพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) มีบุตรชาย 18 คน และบุตรหญิง 10 คนท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 9 คน แต่มีชีวิตจนเติบใหญ่มาพร้อมกับท่านเพียง 4 คน ได้แก่ เจ้าคุณหญิงแข (เจ้าคุณตำหนักใหม่) เจ้าคุณหญิงปุก (เจ้าคุณกลาง) เจ้าคุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย) และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ การศึกษาในวัยเยาว์ของท่านนั้น คงเล่าเรียนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เนื่องจากการเล่าเรียนของผู้ดีสมัยก่อนนั้นมักจะเรียนกันที่วัด เมื่อเติบใหญ่จึงเล่าเรียนวิชาที่บ้านจากบุคคลในตระกูลของท่านเอง โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ บิดาของท่านนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาพระคลังเสนาบดีว่าการต่างประเทศและได้ว่าการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออก ดังนั้น ท่านจึงได้ศึกษาราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและการปกครองมาจากบิดาของท่านเองสกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า มีผู้สืบเชื้อสายคือ พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) บุตรชายของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม(สายบุนนาคลำดับที่สี่) และเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) และพระยาราชานุวงศ์ (เล็ก บุนนาค) ตามลำดับ แต่พระยาประภากรวงศ์ (ชาย) ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕ ทายาท สายตรงของสกุลในชั้นนี้จึงได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) มีบุตรกับคุณหญิงเลื่อน คือ วิเชียร เป็นผู้สืบสกุล ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์เช่นเดียวกับปู่และบิดาผู้สืบสกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ ๖ ได้แก่ บุตรชายของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับท่านผู้หญิง ตลับ คือ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) และพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ตามลำดับ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ ได้เป็นผู้นำของตระกูลนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เมื่อท่านบิดาถึงแก่อสัญกรรมลำดับชั้นสายสกุลบุนนาคต้นสายชั้นที่หนึ่ง เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาชั้นที่สอง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติชั้นที่สาม พระยามนตรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และท่านผู้หญิงกลิ่น ชั้นที่สี่ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ นามเดิม วร สกุลบุนนาค เป็นบุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น (ธิดาหลวงแก้วอายัติ และลิ้ม บุนนาค) ชั้นที่ห้า เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาโหมดในรัชกาลที่ 5 พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) ท่านผู้หญิงอ่วม หลวงชลาศัยไกยกล พระยานิพัทธ์กุลพงศ์ เจ้าจอมอบ ในรัชกาลที่ห้า คุณหญิงแช่ม ภริยา เจ้าพระยาพลเทพ และ ท่านลิ้ม บุนนาค สัมพันธ์กับราชตระกูลสายพระปฐมบรมราชวงศ์ ได้แก่ ราชสกุลอิศรางกูร ต้นราชสกุลคือสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ และ ราชสกุลเทพหัสดิน ต้นราชสกุลคือสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ทางท่านลิ้ม บุนนาค สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า สืบสายในราชินิกุลบุนนาค โดยการสมรสไปกับพระปฐมบรมราชวงศ์ ชั้นที่หก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสุพรรณภาควดี พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาษ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้นราชสกุลอาภากรสำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงและสายที่แตกออกไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖